“บล.พาย” มองตลาดเริ่มให้น้ำหนักการประกาศผลประกอบการ

เรื่องที่น่าสนใจ

บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ Pi ประเมินตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์พลิกกลับมาปรับตัวลง 1.3% หลักๆ นักลงทุนยังคงกังวลกับประเด็นเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ระดับสูงและหนุนให้ FED ยังมีท่าทีปรับขึ้นดอกเบี้ยสูง ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT พลิกกลับมาลดลง 3.1% ถูกกดดันจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และอุปสงค์ที่อ่อนแอจากเศรษฐกิจ

สำหรับประเด็นเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเชิงของเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 8.2%YoY 0.4%MoM สูงกว่าตลาดคาดไว้ที่ 8.1%YoY 0.2%MoM ด้านไส้ในพบว่าแม้ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงานจะปรับลดลง โดยราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ปรับลดลง 4.9%MoM น้ำมันเตา -2.7%MoM อย่างไรก็ตาม ที่ปรับเพิ่มขึ้นคือราคาอาหาร +0.8%MoM ราคาอาหารนำกลับไปกินที่บ้าน +0.9%MoM ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว +6.6%YoY +0.6%MoM หลักๆ เป็นผลจากราคารถยนต์ +0.7%MoM ราคาสินและบริการเกี่ยวข้องกับที่พักอาศัย (+0.7%MoM) ค่าขนส่ง (+1.9%MoM) ค่ารักษาพยาบาล (+1%MoM) ทั้งนี้ หากพิจารณาราคาสินค้าและบริการต่างๆ พบว่าการส่งผ่านต้นทุนต่างๆ ค่อยๆ ที่จะกระจายออกไป สะท้อนผ่านแม้ราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับลดลง แต่พบว่าราคาสินค้าชนิดอื่นในสหรัฐฯ ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อ ภายหลังจากรายงานเงินเฟ้อข้อมูลจาก CME Fed Watch ระบุว่าให้น้ำหนักขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สูงถึง 97.2% ปรับเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้ารายงานเงินเฟ้อที่ 76% และการประชุมเดือน ธ.ค. น้ำหนักส่วนมากปรับขึ้นไปที่ 0.75% จากเดิมน้ำหนักส่วนมากอยู่ที่ 0.50% ดังนั้น การฟื้นตัวในวันพฤหัสบดีของ Dow Jones หลังรายงานเงินเฟ้อเรามองเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ขณะที่อีกหลายสัญญาณยังบ่งชี้ว่าตลาดยังกังวลกับดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ สะท้อนผ่านการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 และ 10 ปีที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ส่วนสัปดาห์นี้ประเมินว่าตลาดจะเริ่มไปให้น้ำหนักกับผลประกอบการ 3Q22 สำหรับประเทศไทยจะเริ่มด้วยกลุ่มธนาคาร คาดว่าจะเห็นการรายงานทั้งหมดในสัปดาห์นี้ ด้านตัวเลขเศรษฐกิจจะเน้นไปที่ (1) ยอดสร้างบ้านใหม่ในวันพุธ Bloomberg คาดที่ 1.46 ล้านหลังคาเรือน (2) ยอดขายบ้านมือสองในวันพฤหัสบดี Bloomberg คาดที่ 4.69 ล้านหลังคาเรือน ตัวเลขที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์มองว่าจะเป็นบวกมากกว่าเพราะส่งผลให้ตลาดคลายกังวลกับเงินเฟ้อ เชิงกลยุทธ์การลงทุนเชื่อว่าตลาดหุ้นจะเริ่มมี Downside ที่จำกัดมากขึ้นหลัง Price In ประเด็นลบไปพอสมควรจึงมองเก็งกำไรฟื้นตัวได้ แต่เน้นเลือกหุ้นมีปัจจัยบวก เช่น ธนาคาร (BBL KBANK SCB TISCO) หุ้นได้ประโยชน์น้ำมันลง (SCC SCGP) โรงไฟฟ้า (BGRIM GPSC) ท่องเที่ยว (AOT CENTEL ERW MINT SPA) ค้าปลีก (BJC CPALL HMPRO) ประเมินกรอบ SET ทั้งสัปดาห์ 1,550-1,580

CPALL (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 72.25 บาท) แนวโน้มในช่วง 3Q22 คาดว่ารายได้จะเห็นการฟื้นตัวได้ชัดเจนโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปีก่อนเพราะ 1.รวมงบโลตัสเข้ามา 2.ไม่มีล็อกดาวน์ ส่วนการเทียบกับ 2Q22 อาจจะออกมาแค่ทรงตัวเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกจากการไม่เข้าประมูลกิจการ Metro ในอินเดีย

SCGP (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 61.00 บาท) เล็งเห็นศักยภาพด้านกำไรที่ชัดเจนขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/22 เป็นต้นไป หนุนจากอัตรากำไรที่ขยายตัวขึ้น ด้วยภาพรวมอุปสงค์ที่ดีขึ้นท่ามกลางการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และแรงกดดันด้านต้นทุนที่ผ่อนคลายลง บวกกับการปรับเพิ่มขึ้นของมูลค่าจากดีล M&P